วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน (Team building Leadership Skill)

                      ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน  (Team building Leadership  Skill) 
                                                         ดร.บุญช่วย  สายราม

ทักษะภาวะผู้นำ  (Leadership  Skills)  เป็นกระบวนการใช้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจในประสบการณ์และเข้าใจคุณค่าของความเป็นผู้นำในตัวเอง  ตระหนักถึงวิธีการขจัดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน  ส่งเสริมพฤติกรรมและพัฒนาความสามารถพิเศษของความเป็นผู้นำ  มุ่งบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ความท้าทายต่างๆ  โดยให้ทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน หากกล่าวถึงทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นในศตวรรษที่  21  (Essential  Leadership  Skills  in  the  21st  Century)  ซึ่งเป็นทักษะภาวะผู้นำที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในตัวของผู้นำในระดับต่างๆ  ได้แก่  ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล  (Effective  Team  Building  Skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skills)  ทักษะการวางแผน  (Planning  Project  Skills)  ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน  (Performance  Monitoring  Skills)  ทักษะการสื่อสาร  (Communication  Skills)  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  (Relationship  Building  up  Skills)  ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง  (Coaching  Skills)  ทักษะทางสังคม  (Social  Skill)  ทักษะการติดสินใจ  (Decision  Making  Skill)  ทักษะการกระตุ้นจูงใจ  (Motivational  Skills)  ทักษะการคิดและสะท้อนผล  (Reflective  &  Thinking  Skills)  ทักษะการจัดการตนเอง  (Self-Management  Skills)  ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี  (Technological  Skills)  ทักษะด้านการเรียนการสอน  (Pedagogical  Skills)  ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์  (Emotional  Intelligence  Skills)  ทักษะการเสริมพลังอำนาจ  (Empowerment  Skills)  ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์  (Visioning  Skills)  ทักษะการบริหารเวลา  (Time  Management  Skills)  ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  (Conflict  Resolution)  และ  ทักษะการจัดการความเสี่ยง  (Risk  Management  Skills)  Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development  (OECD),  ได้กล่าวเกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  พบว่า  ผู้นำโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงาน  และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  ถ้าผู้นำโรงเรียนขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้  ซึ่งทักษะภาวะผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับภาระงานและบุคคลลากร  ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะ  ความรู้  และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในบริบทของโลกยุคใหม่  สอดคล้องกับ  งานวิจัยของ  Lee  (2008)  พบว่า  ทักษะภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ  ได้แก่  ทักษะการสร้างทีมงาน  (Team  Building  Skill)  ทักษะด้านความร่วมมือ  (Collaboration  Skill)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (Critical  Thinking  And  Creativity  Skill)  ทักษะด้านการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skill)  ทักษะด้านการสื่อสาร  (Communication  Skill)  และทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้  (Learning  Innovation  Skill)    และงานวิจัยของ  National  Association  of  Secondary  School  Principals  (NASSP(2013)  พบว่า  ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่  21  ที่สำคัญและส่งผลดีต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ได้แก่  ทักษะการทำงานเป็นทีม  (Teamwork  Skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skills)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (Critical  Thinking  and  Creativity  Skill)  ทักษะด้านการสื่อสาร  (Communication  Skill)  ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้  (Learning  Innovation  Skill)  ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล  (Digital  Literacy  Skills)  ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร  (Setting  Instructional  Direction  Skill)  ทักษะการเรียนรู้ได้เร็ว  (Sensitivity  Skill)  ทักษะการพิจารณาตัดสิน  (Adjustment  Skill)  และ  ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์  (Results  Orientation  Skill)  จากการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา  (Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development  :  OECD)  เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาการศึกษาของประเทศต่างๆ  ที่มีผลการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในอันดับต้นๆ  ของโลก  ได้แก่  เซี่ยงไฮ้  สิงคโปร์  ฮ่องกง  เกาหลีใต้  และญี่ปุ่น  พบว่า  กลุ่มประเทศที่จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องในอันดับต้นๆของโลกเหล่านี้  ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง  เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่สำคัญ  คือ  ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน  (Team  Building  Leadership  Skill)  และทักษะการจัดการความขัดแย้ง  (Conflict  Management  Skill)  (Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development,  2012) 
                  การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน  ผู้เขียนได้ศึกษา  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ซึ่งสรุป  ดังนี้ 
               
                   1. องค์ประกอบหลักด้านการก่อตั้งทีม  (Forming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      1.1  การกำหนดเป้าหมาย 
                      1.2  การกำหนดวัตถุประสงค์ 
                      1.3 การคัดเลือกสมาชิก 
                      1.4  การกำหนดบทบาทหน้าที่ 
                  2.  องค์ประกอบหลักด้านการรวมทีม  (Storming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      2.1  การพัฒนาทีม 
                      2.2  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 
                      2.3  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                      2.4  การขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 
                  3.  องค์ประกอบหลักด้านการสร้างบรรทัดฐานของทีม  (Norming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      3.1  การมีภาวะผู้นำร่วม 
                      3.2  การมีวิสัยทัศน์ร่วม 
                      3.3  การมีความไว้วางใจ
                      3.4  การมีความเหนียวแน่นในทีม 
                   4.  องค์ประกอบหลักด้านการปฏิบัติงานของทีม  (Performing)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      4.1  การกำหนดแผนปฏิบัติงานของทีม 
                      4.2  การมีแรงจูงใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ 
                      4.3  การคิดสร้างสรรค์ 
                      4.4  การมีส่วนร่วม 
                      4.5  การสร้างบรรยากาศที่ดี 
                      4.6  การตัดสินใจของทีม
                      4.7  การแก้ปัญหาของทีม 
                  5.  องค์ประกอบหลักด้านการสะท้อนผลงานและการขับเคลื่อนทีม  (Feedback  and  Dynamicมี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      5.1  กระบวนการทำงานของทีม
                      5.2  การเรียนรู้ของทีม  


Reference

Biech,  Elaine.  (2008)The  Pfeiffer  Book  of  Successful  Team-Building  Tools  :  Best  of  the  Annuals.  Second  Edition.  United  States  of  America:  Pfeiffer.
Cook,  Sarah.  (2009)Building  a  High-  Performance  Team  Proven  Techniques  for
           Effective  Team  Working.  IT  Governance  Publishing:  United  Kingdom.
Diamond,  L.  E.  and  Diamond,  Harriet.  (2007).  Teambuilding  That  Gets  Results  : 
           Essential  Plans  and  Activities  for  Creating  Effective  Teams.  Illinois:  Naperville.
Dyer,  W.  G.,  Gibb,  W.  and  Jeffrey  H.  (2007).  Team  Building  :  Proven  Strategies 
           for  Improving  Team  Performance.  Fourth  Edition.  San  Francisco:  John        Wiley. 
 Tyrer,  Graham.  (2010) .  Learning  to  lead  :  Using  Leadership  Skills  to  Motivate 
           Students.  New  York:  Continuum  International  Publishing  Group.
>San  Francisco:  John        Wiley. 
Weigel,  R.  A.  (2012)School  Leadership  Skill  Development.  Dissertation 
           Ph.D.  Thesis  in  Educational  Leadership.  Eastern  Michigan  University,            Michigan.
Wellington,  P.  and  Niall  Foster.  (2009).  Effective  Team  Leadership  for  Engineers. 
           The  Institution  of  Engineering  and  Technology:  United  Kingdom.
West,  M.  A.  and  Markiewicz,  L.  (2004).  Building  Team-Based  Working:  a  Practical
           Guide  to  Organizational  Transformation.  United  Kingdom:  Blackwell            Publishing.
Woodcock,  M.  and  Dave  Francis.  (2008).  Team  Metrics  Resources  for  Measuring    and  Improving  Team  Performance.  Massachusetts  :  HRD  Press,  Inc. 
Yost,  P.R.  and  Plunket,  Mary  Mannion.  (2009)Real  Time  Leadership
           Development.  Singapore:  Wiley-Blackwell.
Yukl,  G.  (2010).  Leadership  in  Organization.  New  York:  Person  Prentice  Hall.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น