วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ดร. บุญช่วย สายราม

ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่  
ดร. บุญช่วย   สายราม  

........................................................
การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ตัวแปรที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจะต้องเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำที่ดี  มีทักษะความเป็นผู้นำ มีปัญญา มีความรู้ความสามารถ และใช้การวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  การบรรลุเป้าหมายด้านคุณภาพของผู้เรียนจึงต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก็คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำสูงคือกุญแจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน ซึ่งนักการศึกษาทั้งหลายต่างมีทัศนะว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีทักษะการบริหารงาน เป็นผู้นำทีมแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพ สามารถบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม สามารถเชื่อมโยงสภาพปัจจุบันและภาพอนาคต  มุ่งพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอาศัยทักษะภาวะผู้นำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน  มองเห็นภาพอนาคต  และสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานทุกคนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด หากกล่าวถึงทักษะภาวะผู้นำจะมุ่งเน้นถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำองค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารงาน บริหารตนเอง และบริหารบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารประกอบด้วย ทักษะทางเทคนิค  ทักษะทางมนุษย์  และทักษะทางความคิดรวบยอด  แต่สำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้นต้องมีทักษะทางการบริหารงานเพิ่มขึ้นอีก   ทักษะ คือ ทักษะการจัดการเรียนการสอนและทักษะทางการเรียนรู้ ซึ่งรวมเป็นทักษะที่จำเป็นพื้นฐาน  5 ทักษะที่ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการบริหารงาน  การเป็นผู้นำที่มีความโดดเด่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะหลัก  (Core  Leadership skills)   หรือทักษะที่จำเป็น (Essential Skills) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้นำยุคใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำที่แท้จริง สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีม  ทักษะการกำหนดเป้าหมาย ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสร้างบรรยากาศ ทักษะการกระตุ้นจูงใจ  ทักษะการเปลี่ยนแปลง และทักษะการสร้างความสัมพันธ์  นอกจากที่กล่าวข้างต้น ทักษะภาวะผู้นำยุคใหม่ที่ผู้นำองค์กรต้องได้รับการพัฒนาและถือว่าเป็นอีกทักษะที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก คือ ทักษะชีวิต เพราะการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในองค์กรและในชีวิตทั่วไป  ผู้นำองค์กรสมัยใหม่ต้องสามารถมองโลกได้หลายมิติ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการสิ่งต่างๆที่ส่งผลต่อการบริหารงานภายในองค์กรได้อย่างชาญฉลาด เป็นผู้นำที่สามารถสร้างความประทับใจและเข้าถึงเพื่อนร่วมงานได้ทุกระดับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีงามของการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรมประจำตนและเป็นที่ยอมรับนับถือ 
ทักษะภาวะผู้นำ ( Leadership Skills ) เป็นกระบวนการใช้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจในประสบการณ์และเข้าใจคุณค่าของความเป็นผู้นำในตัวเอง  ตระหนักถึงวิธีการขจัดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมพฤติกรรมและพัฒนาความสามารถพิเศษของความเป็นผู้นำ มุ่งบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ความท้าทายต่างๆ  โดยให้ทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารในศตวรรษที่  21   Essential leadership skills in the 21st century )  ซึ่งเป็นทักษะภาวะผู้นำที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้นำในระดับต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้  
1. ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล (  Effective Team building skill )  
2.  ทักษะการแก้ปัญหา ( Problem  solving skills )  
3.  ทักษะการวางแผน ( Planning Project skills )  
4.  ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน  ( Performance monitoring skills )  
5.  ทักษะการสื่อสาร  (Communication skills )  
6.  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  ( Relationship building up skills )  
7.   ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง  ( Coaching skills ) 
8.   ทักษะทางสังคม  ( Social skill )  
9.  ทักษะการติดสินใจ   Decision making skill )  
10. ทักษะการกระตุ้นจูงใจ ( Motivational skills )  
11. ทักษะการคิดและสะท้อนผล  ( Reflective & thinking  skills ) 
12. ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management skills)   
13. ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technological skills)   
14. ทักษะด้านการเรียนการสอน  (Pedagogical skills)  
15. ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ ( Emotional intelligence skills )   
16. ทักษะการเสริมพลังอำนาจ    ( Empowerment skills )    
17. ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์  (Visioning skills)   
18. ทักษะการบริหารเวลา  (Time  management skills)    
19. ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  (Conflict resolution) 
20. ทักษะการจัดการความเสี่ยง  (Risk management skills)   
 สำหรับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้น งานวิจัยของ  Weigel  (2012) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าผู้บริหารโรงเรียนขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ ซึ่งทักษะภาวะผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับภาระงานและบุคคลลากร ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในบริบทของโลกยุคใหม่  งานวิจัยของ Lee  (2008) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีมงาน (team building skill)  ทักษะด้านความร่วมมือ Collaboration skill )  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์   ( Critical thinking and creativity skill )  ทักษะด้านการแก้ปัญหา            problem solving skill ) ทักษะด้านการสื่อสาร Communication skill ) และทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ( Learning innovation skill )  งานวิจัยของ  Ejimofor  ( 2007) พบว่า การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เกิดการเรียนรู้ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เกิดความเข้าใจและมีพฤติกรรมการบริหารงานที่สร้างความประทับใจให้กับทีมงาน โดยมีกระบวนการพัฒนาคือ การอบรมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และงานวิจัยของ National Association of Secondary School Principals (NASSP) (2013) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญและส่งผลดีต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ได้แก่  ทักษะการทำงานเป็นทีม (teamwork skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (problem solving skills)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (critical thinking and creativity skill)   ทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill)  ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้(learning innovation skill) ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล  (digital literacy skills)  ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร ( setting instructional direction skill ) ทักษะการเรียนรู้ได้เร็ว  (sensitivity skill) ทักษะการพิจารณาตัดสิน (adjustment skill)และ ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์  (results orientation skill) 
  สำหรับในประเทศไทย การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School – Based  Management) โดยต้องมุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์ คือ การมีทักษะทางสังคม ได้แก่ สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจในทีมงาน  การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการความขัดแย้งได้ดี    ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำที่เหมาะสมส่งผลให้การปฏิบัติงานของโรงเรียนในด้านการบริหารงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจ และยังส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือและการสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน  จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ที่สามารถเสริมสร้างความมีภาวะผู้นำทีมในโรงเรียนสูง  การจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ   การมีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ   การพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้อื่น  การมีความคิดสร้างสรรค์  และการขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์  เป็นต้น 
           สรุปได้ว่า การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นกรอบสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2( พ. 2552 – 2561) โดยมุ่งหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งการบริหารและพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมมาก


โดยสถานศึกษาจะมีอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น  ( School  based management )  ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปรับบทบาทหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทักษะทางการบริหารงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  มีความพร้อม  มีสมรรถนะและศักยภาพ มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  สามารถบริหารจัดการศึกษาและดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถบริหารจัดการและสนับสนุนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  

References
Achua, C. F. and Robert N. Lussier. (2013).  Effective leadership. 5th edition. United
Kingdom : Erin Joyner.
Adair, John. (2010)Develop your leadership skills. Great Britain : Thorogood
Publishing.
Cook , Sarah.  (2009).  Building a High- Performance Team Proven techniques for
effective team working . IT Governance Publishing : United Kingdom.
Dyer, W. G., W. Gibb, Jeffrey H. (2007). Team Building : Proven Strategies for
Improving Team Performance. Fourth Edition. San Francisco : John Wiley.              Ejimofor, F. O. 2007).  Principals’ Transformational Leadership Skills and Their
Teacher’s Job Satisfaction in Nigeria. Dissertation Ph.D. Thesis in Philosophy.
Cleveland State University : Nigeria. 
Fullan, Michael. (2007).  The new meaning of educational change. New York :
          Columbia University.
Fullan,  M. (2012).  21st Century Leadership: Looking Forward[Online]. Available from :
[Accessed  19 April 2013].
Jodhi, M.  (2012).  Administration skills. United States of America : Ventus.
Jones, Jeff. (2004)Management Skills in Schools. Great Britain : SAGE Publications.
Katz, R. L. (1955) Skills of an Effective Administrator. United Kingdom : Harvard
Business Review.
Katzenbach, J.R. and Douglas K. Smith. (2005). The discipline of teams. United States
          Of America : Harvard Business School Publishing.
Kayser ,Thomas A. (2011)Building Team Power : How to Unleash the Collaborative
          Genius of Teams for Increased Engagement, Productivity, and Results.
          United States of America : McGraw-Hill.
Lee, D. M.  (2008).  Essential Skills for Potential School Administrators: A Case
 Study of One Saskatchewan Urban School Division.  University of
 Saskatchewan : Saskatoon.
National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2013).  Breaking Ranks:
 10 Skills for Successful School Leaders. [Online]. Available from :
https://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_ExSum.pdf [Accessed  1 April 2013].
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2009).  Improving
          school leadership the toolkitUSA. : OECD Publishing.
(OECD)(2012) Preparing Teachers and Developing school leader for the 21st
 Century. USA :  OECD Publishing.
 (OECD) . (2012).  Better Skills, Better Jobs, Better Lives: A Strategic Approach to Skills
 Policies. USA : OECD Publishing.
 (OECD) . (2013).  OECD Skills Outlook 2013: First Results from the Survey of Adult
 SkillsUSA : OECD Publishing.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น