วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ของทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน

สรุปองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ของทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน
ดร.บุญช่วย  สายราม
....................................................................






สรุป
 ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานมี  องค์ประกอบหลัก  21  ตัวบ่งชี้  และ  122  ตัวบ่งชี้ย่อย  ดังนี้
               1.  องค์ประกอบหลักด้านการก่อตั้งทีม  (Forming)  มี  4  ตัวบ่งชี้  คือ  การกำหนดเป้าหมาย  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การกำหนดวัตถุประสงค์  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การคัดเลือกสมาชิก  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  และการกำหนดบทบาทหน้าที่  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย 
               2.  องค์ประกอบหลักด้านการรวมทีม  (Storming)  มี  4  ตัวบ่งชี้  คือการพัฒนาทีม 
มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  และการขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย 
               3.  องค์ประกอบหลักด้านการสร้างบรรทัดฐานของทีม  (Norming)  มี  4  ตัวบ่งชี้ 
คือ  การมีภาวะผู้นำร่วม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การมีวิสัยทัศน์ร่วม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การมีความไว้วางใจ  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  และการมีความเหนียวแน่นในทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย 
               4.  องค์ประกอบหลักด้านการปฏิบัติงานของทีม  (Performing)  มี  7  ตัวบ่งชี้  คือ     การกำหนดแผนปฏิบัติงานของทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การมีแรงจูงใจมุ่งผลสัมฤทธิ์  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การคิดสร้างสรรค์  การมีส่วนร่วม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  การสร้างบรรยากาศที่ดี  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย     การตัดสินใจของทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  และการแก้ปัญหาของทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย
               5.  องค์ประกอบหลักด้านการสะท้อนผลงานและการขับเคลื่อนทีม  (Team  Feedback  and  Dynamic)  มี  2  ตัวบ่งชี้  คือ  กระบวนการทำงานของทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย  และการเรียนรู้ของทีม  มี  ตัวบ่งชี้ย่อย

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Team building leadership skills

                                                                       Team building leadership skills 
                                                                       Sairam,B. ดร.บุญช่วย  สายราม

The effects of globalization and changes in science and information technology on education bring rapid within learning systems across the world as ideas, values and knowledge, information-based society and producing       a shift in society from industrialization towards. It reflects the effect on the roles of students and teachers, school administrators and the future citizens of the world into global citizens intelligent. At the same times, the internationalization of education can be linked to various internal and external changes in the international system. Externally, there have been changes in the labor market, which have resulted in calls for more knowledge and skilled workers, and workers with deeper understandings of languages, cultures and business methods all over the world. Education is becoming more invaluable to individuals on globalization and technological that advancements delivering and increasing access to educational administration subsequently subjects should reflect this global development outlook.

Team building leadership skills were caused by lack of knowledge of team building leadership skills, its influences over the performance of the school organization development. Second, there is a lack of know how of team building leadership skills development. The state still takes place old school leadership skills development for school administrators which is not applicable in present contexts and modernization situations. Third, the training program of leadership skills development instead mistake for school administration that aims to improve the roles and duty of management but not integrated personnel leadership skills. However, working together in a team is often a more effective way to accomplish important tasks. Thus, teamwork is central in the efficient and effective management of schools and it is a vital force in improving schools. Moreover, few trends have influenced jobs more than the movement to introduce teams in the workplace. Building effective teams requires long standing principles regarding stages of team development include how members develop norms and cohesiveness, share roles, make decisions, communicate with one another, and handle conflicts. And importantly, the administrators know that teams experience different process challenges as they pass through the stages of team building as forming, storming, norming, performing, adjourning and dynamics. Team members and leaders need to be mindful of the potential team dysfunctions including social loafing and group think. Furthermore, Thai primary school administrators need to improve their educational administration and development focus via the school context. The primary school administrators need team building skills, team members, and team consultants’ specific guidance on how to improve team performance. Although the team building activities that they propose may be particularly well suited for poorly performing or dysfunctional teams, they also can transform average or even good teams into great teams.
Developing the team building leadership skills of primary school administrator enhancement program is described as Figure below.





กลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ





ดร.บุญช่วย  สายราม
การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
                ทักษะการสร้างทีมงานที่มีความจำเป็นสำหรับนำองค์การทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารหน่วยงานทุกประเภท ล้วนต้องอาศัยทักษะการสร้างทีมงานขั้นพื้นฐานเพื่อให้สามารถกำหนดความสำเร็จของโครงการหรือแผนงานต่างๆขององค์การ หลายโครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่ประสบความล้มเหลวหรือความสำเร็จเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมและทีมงานที่ยิ่งใหญ่ซึ่งส่งผลให้เกิดความสำเร็จทั้งในระดับบุคลและระดับองค์การ  การทำงานเป็นทีมทำให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและจะเป็นการประสบความสำเร็จด้วยตัวของบุุคลเอง องค์กรและกลุ่มที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่​​การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย เกิดความคิดสร้างสรรค์และเกิดความรู้สึกของการเป็นเจ้าของในผลงานร่วมกันของทีมงาน ซึ่งโดยทั่วไปนั้นจำเป็นต้องอาศัย 8 กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานสำหรับการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพคือ
1. การมีเป้าหมายร่วมกัน
ความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ จะต้องมีเป้าหมายเดียวที่ชัดเจน มีการสื่อสารวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมงาน
2. การมีเป้าหมายชัดเจน
 การสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยให้สมาชิกในทีมมีความเข้าใจของวัตถุประสงค์โดยรวม และจำเป็นต้องมีการสื่อสารบ่อยๆ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานในด้านต่างๆเพื่อก่อให้เกิดการติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง
3. การมีความมุ่งมั่นของสมาชิกในทีมแต่ละคน
สำหรับกลุ่มคนที่จะทำงานเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความมุ่งมั่นของสมาชิกในทีม การที่การปฏิบัติงานเป็นทีมส่วนมากล้มเหลวก็เพราะการขาดของความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานของสมาชิกในทีมงาน
4. การปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด
เป้าหมายของการทำงานเป็นทีมคือการรวมกลุ่มบุคคลที่มีทักษะเฉพาะที่จะบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานของทีมจึงขึ้นอยู่กับทักษะของสมาชิกในทีมแต่ละคนโดยการประกันประสิทธิภาพการทำงานของสมาชิกทุกคนจึงจะส่งผลการทำงานร่วมกันของทีมมีประสิทธิผล
5. สมาชิกในทีมมุ่งความสำเร็จร่วมกัน
ทัศนคติของบุคคลเป็นสิ่งที่เข้าใจยากที่สุด การปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายหรืองานที่มีความท้าทาย ผู้นำทีมจึงต้องกระตุ้นจูงใจสมาชิกของทีมและกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับทักษะการปฏิบัติงาน
6. การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในทีม
การสื่อสารเป้าหมายของการปฏิบัติงานกับมวลสมาชิกในทีมเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยอาศัยเครื่องมือหลายชนิด เช่นอีเมล, โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ จึงเป็นทางเลือกของผู้นำสมัยใหม่ในการสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกโดยอาศัยเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นกันเองแบบไม่ต้องเป็นทางการในการสื่อสาร
7. เน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม
ผู้นำทีมสามารถบอกได้เมื่อทีมงานได้ใช้เวลาร่วมกันทั้งในการทำงานและสภาพแวดล้อมทางสังคมต่างๆ ทีมที่ประสบความสำเร็จและสามารถคาดหวังผลสำเร็จร่วมกันปัจจัยที่สำคัญก็คือการที่สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานต่างๆและเป็นเจ้าภาพร่วมกันในทุกๆงาน
8. การมีภาวะผู้นำร่วม
การปฏิบัติงานร่วมกันของสมาชิกในทีมต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความชำนาญเฉพาะของสมาชิกแต่ละคน การปรับเปลี่ยนบทบาทผู้นำทีมโดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้ความเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานนั้นสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพของงานและทำให้สมาชิกของทีมเห็นคุณค่าและมีความภูมิใจในตนเองและสมาชิกในทีม
Reference
University of California. Steps to Building an Effective Team.Human Resources,2014.

ทักษะภาวะผู้นำองค์กรโรงเรียนในศตวรรษที่ 21

ทักษะภาวะผู้นำองค์กรโรงเรียนในศตวรรษที่ 21
ดร. บุญช่วย  สายราม
       กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านวิทยาการ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้แต่ละประเทศไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยลำพังได้ ต้องร่วมมือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  การดำรงชีวิตของคนในแต่ละประเทศมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและ กัน มีความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันสังคมโลกในยุคปัจจุบันก็เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารทำให้คนต้องคิดวิเคราะห์ แยกแยะและมีการตัดสินใจที่รวดเร็วเพื่อให้ทันกับเหตุการณ์ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้นำไปสู่สภาวการณ์ของการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้หลายประเทศต้องปฏิรูปการศึกษา  ดังนั้น  คุณภาพของการจัดการศึกษาจึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญประการหนึ่งสำหรับศตวรรษที่ 21 และศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกของแต่ละประเทศ ประเทศที่จะอยู่รอดได้หรือคงความได้เปรียบก็คือประเทศที่มีอำนาจทางความรู้และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งในยุคโลกไร้พรมแดนคนต่างชาติจะเข้ามาทำงานและประกอบอาชีพในประเทศไทยมากขึ้นและในขณะเดียวกันคนไทยก็มีโอกาสไปทำงานและประกอบอาชีพในต่างประเทศมากขึ้นด้วยเช่นกัน 
           
สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ มีบทบาทและหน้าที่ในการจัดการศึกษา การอบรมสั่งสอนอย่างสมดุลให้สอดคล้องกับชีวิตจริง ตลอดจนการสร้างความรู้และส่งเสริมความสามารถอย่างหลากหลายเพื่อนำไปสู่การประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะในระดับโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องสร้างเด็กไม่ใช่เพียงเน้นด้านวิชาความรู้เท่านั้นแต่ต้องจัดการศึกษาให้ครอบคลุมด้านอื่นๆ ในชีวิตจริงของเด็กด้วย โดยต้องจัดระบบการเรียนการสอนที่มุ่งให้โอกาสทุกคนในการศึกษาตามความสามารถและศักยภาพของแต่ละคน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการศึกษาเรียนรู้  โรงเรียนต้องเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาในมิติที่กว้างขึ้น เพราะในปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคมที่ไร้พรมแดนมีการติดต่อประสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ มากขึ้น ดังนั้นในอนาคตโรงเรียนแต่ละแห่งจะต้องมีการแข่งขันด้านคุณภาพมากขึ้น โรงเรียนในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนและผลิตกำลังคนให้มีศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองและเทคโนโลยีกับนานาประเทศได้
          ผู้บริหารถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำสูงคือกุญแจสำคัญไปสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน ซึ่งนักการศึกษาทั้งหลายต่างมีความเชื่อว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีทักษะการบริหาร เป็นผู้นำทางวิชาการมีความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพจึงจะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาทั่วทั้งองค์กรและสามารถสร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทุกองค์กรจะมุ่งปฏิรูปการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเน้นในเรื่องความรับผิดชอบในด้านต่างๆที่มีต่อผู้รับบริการ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องเป็นผู้นำยุคใหม่ที่สามารถมองภาพขององค์กรได้อย่างทะลุปรุโปร่งและชัดเจน สามารถเชื่อมโยงสภาพปัจจุบันและภาพในอนาคตที่ต้องให้ความสำคัญและต้องเปลี่ยนแปลงรวมทั้งต้องเป็นผู้นำทีมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
           ทักษะภาวะผู้นำเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำองค์กรหรือหน่วยงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและสำคัญต่อการบริหารงาน บริหารตนเอง และบริหารบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารในศตวรรษที่  21  ที่ส่งเสริมให้เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลสูง ประกอบด้วย  1 ) ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลสูง ( Highly effective Team building skill )  2 ) ทักษะการแก้ปัญหา ( Problem– solving skills )  3 ) ทักษะการวางแผน   ( Planning – Project skills )   4 ) ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน   ( Performance monitoring skills )    5 ) ทักษะการสื่อสารที่ดี  ( Communication and climate set skills )   6 ) ทักษะการสร้างสัมพันธ์     ( Relationship building up skills )    7 ) ทักษะการสอนงาน    ( Coaching skills )     8 )  ทักษะทางสังคม  ( Social skill )   9 ) ทักษะการติดสินใจ   ( Decision making skill )    10 )  ทักษะการกระตุ้นจูงใจ    ( Motivational skills )   11 )  ทักษะการคิดเชิงสะท้อน   ( Reflective & thinking  skills   ) 12 )   ทักษะการจัดการตนเอง   ( Self – management skills )     13 ) ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี  ( Technological skills )   14 ) ทักษะด้านการเรียนการสอน  (  Pedagogical skills)    และ  15 ) ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์  ( Emotional intelligence skills ) 
          การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นกรอบสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ( พ. ศ. 2552 – 2561 ) โดยมุ่งหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งการบริหารและพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม โดยสถานศึกษาจะมีอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้นทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปรับบทบาทหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานบริหารการศึกษาในรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทักษะทางการบริหารงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีความพร้อม มีสมรรถนะและศักยภาพ มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  สามารถบริหารจัดการศึกษาและดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถบริหารจัดการและสนับสนุนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   จากการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาการศึกษาของประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีผลการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพของ Organization for Economic Co-operation  and Development : OECD ปี 2012 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่  21 ต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นอย่างอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่สำคัญที่สถาบันและองค์กรชั้นนำระดับโลกต่างๆให้ความสำคัญ ประกอบด้วย ทักษะการสร้างทีมงาน     ( Team building skill )  และทักษะการจัดการความขัดแย้ง ( Conflict management skill )
        จากการศึกษาของ Center Creative Leadeship ( CCL ) และ National Association of Secondary School Principals ( NASSP) สรุปเกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่  21  ที่สำคัญ จำนวน  10 ทักษะ ประกอบด้วย  1 ) ทักษะการสร้างทีมงาน     2 )  ทักษะการจัดการความขัดแย้ง    3 )  ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 4 ) ทักษะการตัดสินใจ  5 )  ทักษะการคิดสร้างสรรค์  6 ) ทักษะทางเทคโนโลยี / นวัตกรรม  / ดิจิตอล    7 ) ทักษะการสื่อสาร   8 )  ทักษะการจูงใจ  9 )  ทักษะการมอบหมายงานและการสอนงาน  และ  10 ) ทักษะชีวิต 
       สรุป การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่โดยเฉพาะในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานระกับนโยบายอย่างกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องวางแผนและจัดลำดับความสำคัญในการเร่งเสริมสร้างคุณภาพในตัวผู้นำองค์กรโรงเรียน เพื่อให้มีทักษะในการบริหารงานยุคใหม่ มีความรู้มิติกว้าง มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  มีนิสัยผู้นำที่แท้จริง มีพฤติกรรมและมีคุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิผล สามารถนำพาทีมงานในสถานศึกษาทะลุทะลวงเป้าหมายของการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน

ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ดร. บุญช่วย สายราม

ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่  
ดร. บุญช่วย   สายราม  

........................................................
การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ตัวแปรที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจะต้องเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำที่ดี  มีทักษะความเป็นผู้นำ มีปัญญา มีความรู้ความสามารถ และใช้การวิจัยเพื่อการบริหารและการจัดการเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  การบรรลุเป้าหมายด้านคุณภาพของผู้เรียนจึงต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก็คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารถานศึกษาที่มีภาวะผู้นำสูงคือกุญแจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน ซึ่งนักการศึกษาทั้งหลายต่างมีทัศนะว่าผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำยุคใหม่ที่มีทักษะการบริหารงาน เป็นผู้นำทีมแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความรู้ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพ สามารถบริหารงานให้เกิดประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม สามารถเชื่อมโยงสภาพปัจจุบันและภาพอนาคต  มุ่งพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวได้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอาศัยทักษะภาวะผู้นำในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน  มองเห็นภาพอนาคต  และสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานทุกคนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด หากกล่าวถึงทักษะภาวะผู้นำจะมุ่งเน้นถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้นำองค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการบริหารงาน บริหารตนเอง และบริหารบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารประกอบด้วย ทักษะทางเทคนิค  ทักษะทางมนุษย์  และทักษะทางความคิดรวบยอด  แต่สำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้นต้องมีทักษะทางการบริหารงานเพิ่มขึ้นอีก   ทักษะ คือ ทักษะการจัดการเรียนการสอนและทักษะทางการเรียนรู้ ซึ่งรวมเป็นทักษะที่จำเป็นพื้นฐาน  5 ทักษะที่ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการบริหารงาน  การเป็นผู้นำที่มีความโดดเด่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีทักษะหลัก  (Core  Leadership skills)   หรือทักษะที่จำเป็น (Essential Skills) ซึ่งถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้นำยุคใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำที่แท้จริง สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีม  ทักษะการกำหนดเป้าหมาย ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสร้างบรรยากาศ ทักษะการกระตุ้นจูงใจ  ทักษะการเปลี่ยนแปลง และทักษะการสร้างความสัมพันธ์  นอกจากที่กล่าวข้างต้น ทักษะภาวะผู้นำยุคใหม่ที่ผู้นำองค์กรต้องได้รับการพัฒนาและถือว่าเป็นอีกทักษะที่กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก คือ ทักษะชีวิต เพราะการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในองค์กรและในชีวิตทั่วไป  ผู้นำองค์กรสมัยใหม่ต้องสามารถมองโลกได้หลายมิติ สามารถเชื่อมโยงบูรณาการสิ่งต่างๆที่ส่งผลต่อการบริหารงานภายในองค์กรได้อย่างชาญฉลาด เป็นผู้นำที่สามารถสร้างความประทับใจและเข้าถึงเพื่อนร่วมงานได้ทุกระดับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดีงามของการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรมประจำตนและเป็นที่ยอมรับนับถือ 
ทักษะภาวะผู้นำ ( Leadership Skills ) เป็นกระบวนการใช้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจในประสบการณ์และเข้าใจคุณค่าของความเป็นผู้นำในตัวเอง  ตระหนักถึงวิธีการขจัดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมพฤติกรรมและพัฒนาความสามารถพิเศษของความเป็นผู้นำ มุ่งบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ความท้าทายต่างๆ  โดยให้ทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารในศตวรรษที่  21   Essential leadership skills in the 21st century )  ซึ่งเป็นทักษะภาวะผู้นำที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในตัวผู้นำในระดับต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้  
1. ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล (  Effective Team building skill )  
2.  ทักษะการแก้ปัญหา ( Problem  solving skills )  
3.  ทักษะการวางแผน ( Planning Project skills )  
4.  ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน  ( Performance monitoring skills )  
5.  ทักษะการสื่อสาร  (Communication skills )  
6.  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  ( Relationship building up skills )  
7.   ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง  ( Coaching skills ) 
8.   ทักษะทางสังคม  ( Social skill )  
9.  ทักษะการติดสินใจ   Decision making skill )  
10. ทักษะการกระตุ้นจูงใจ ( Motivational skills )  
11. ทักษะการคิดและสะท้อนผล  ( Reflective & thinking  skills ) 
12. ทักษะการจัดการตนเอง (Self-management skills)   
13. ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี (Technological skills)   
14. ทักษะด้านการเรียนการสอน  (Pedagogical skills)  
15. ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ ( Emotional intelligence skills )   
16. ทักษะการเสริมพลังอำนาจ    ( Empowerment skills )    
17. ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์  (Visioning skills)   
18. ทักษะการบริหารเวลา  (Time  management skills)    
19. ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  (Conflict resolution) 
20. ทักษะการจัดการความเสี่ยง  (Risk management skills)   
 สำหรับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานั้น งานวิจัยของ  Weigel  (2012) พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงาน และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ถ้าผู้บริหารโรงเรียนขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้ ซึ่งทักษะภาวะผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับภาระงานและบุคคลลากร ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในบริบทของโลกยุคใหม่  งานวิจัยของ Lee  (2008) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทักษะการสร้างทีมงาน (team building skill)  ทักษะด้านความร่วมมือ Collaboration skill )  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์   ( Critical thinking and creativity skill )  ทักษะด้านการแก้ปัญหา            problem solving skill ) ทักษะด้านการสื่อสาร Communication skill ) และทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ ( Learning innovation skill )  งานวิจัยของ  Ejimofor  ( 2007) พบว่า การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาทำให้เกิดการเรียนรู้ความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เกิดความเข้าใจและมีพฤติกรรมการบริหารงานที่สร้างความประทับใจให้กับทีมงาน โดยมีกระบวนการพัฒนาคือ การอบรมสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และงานวิจัยของ National Association of Secondary School Principals (NASSP) (2013) พบว่า ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญและส่งผลดีต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ได้แก่  ทักษะการทำงานเป็นทีม (teamwork skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (problem solving skills)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (critical thinking and creativity skill)   ทักษะด้านการสื่อสาร (communication skill)  ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้(learning innovation skill) ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล  (digital literacy skills)  ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร ( setting instructional direction skill ) ทักษะการเรียนรู้ได้เร็ว  (sensitivity skill) ทักษะการพิจารณาตัดสิน (adjustment skill)และ ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์  (results orientation skill) 
  สำหรับในประเทศไทย การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School – Based  Management) โดยต้องมุ่งเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารที่พึงประสงค์ คือ การมีทักษะทางสังคม ได้แก่ สามารถสร้างความร่วมมือร่วมใจในทีมงาน  การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการความขัดแย้งได้ดี    ผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำที่เหมาะสมส่งผลให้การปฏิบัติงานของโรงเรียนในด้านการบริหารงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการกระจายอำนาจ และยังส่งผลต่อความสามารถในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือและการสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน  จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ต้องได้รับการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ที่สามารถเสริมสร้างความมีภาวะผู้นำทีมในโรงเรียนสูง  การจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์   การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ   การมีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ   การพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้อื่น  การมีความคิดสร้างสรรค์  และการขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์  เป็นต้น 
           สรุปได้ว่า การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือว่าเป็นกรอบสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2( พ. 2552 – 2561) โดยมุ่งหมายให้ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเองและพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งการบริหารและพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันจะมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิมมาก


โดยสถานศึกษาจะมีอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น  ( School  based management )  ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องปรับบทบาทหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีทักษะทางการบริหารงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  มีความพร้อม  มีสมรรถนะและศักยภาพ มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  สามารถบริหารจัดการศึกษาและดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล สามารถบริหารจัดการและสนับสนุนเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  

References
Achua, C. F. and Robert N. Lussier. (2013).  Effective leadership. 5th edition. United
Kingdom : Erin Joyner.
Adair, John. (2010)Develop your leadership skills. Great Britain : Thorogood
Publishing.
Cook , Sarah.  (2009).  Building a High- Performance Team Proven techniques for
effective team working . IT Governance Publishing : United Kingdom.
Dyer, W. G., W. Gibb, Jeffrey H. (2007). Team Building : Proven Strategies for
Improving Team Performance. Fourth Edition. San Francisco : John Wiley.              Ejimofor, F. O. 2007).  Principals’ Transformational Leadership Skills and Their
Teacher’s Job Satisfaction in Nigeria. Dissertation Ph.D. Thesis in Philosophy.
Cleveland State University : Nigeria. 
Fullan, Michael. (2007).  The new meaning of educational change. New York :
          Columbia University.
Fullan,  M. (2012).  21st Century Leadership: Looking Forward[Online]. Available from :
[Accessed  19 April 2013].
Jodhi, M.  (2012).  Administration skills. United States of America : Ventus.
Jones, Jeff. (2004)Management Skills in Schools. Great Britain : SAGE Publications.
Katz, R. L. (1955) Skills of an Effective Administrator. United Kingdom : Harvard
Business Review.
Katzenbach, J.R. and Douglas K. Smith. (2005). The discipline of teams. United States
          Of America : Harvard Business School Publishing.
Kayser ,Thomas A. (2011)Building Team Power : How to Unleash the Collaborative
          Genius of Teams for Increased Engagement, Productivity, and Results.
          United States of America : McGraw-Hill.
Lee, D. M.  (2008).  Essential Skills for Potential School Administrators: A Case
 Study of One Saskatchewan Urban School Division.  University of
 Saskatchewan : Saskatoon.
National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2013).  Breaking Ranks:
 10 Skills for Successful School Leaders. [Online]. Available from :
https://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_ExSum.pdf [Accessed  1 April 2013].
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2009).  Improving
          school leadership the toolkitUSA. : OECD Publishing.
(OECD)(2012) Preparing Teachers and Developing school leader for the 21st
 Century. USA :  OECD Publishing.
 (OECD) . (2012).  Better Skills, Better Jobs, Better Lives: A Strategic Approach to Skills
 Policies. USA : OECD Publishing.
 (OECD) . (2013).  OECD Skills Outlook 2013: First Results from the Survey of Adult
 SkillsUSA : OECD Publishing.

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน (Team building Leadership Skill)

                      ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน  (Team building Leadership  Skill) 
                                                         ดร.บุญช่วย  สายราม

ทักษะภาวะผู้นำ  (Leadership  Skills)  เป็นกระบวนการใช้ความสามารถและความชำนาญในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และการบริหารงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล  การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำช่วยให้ผู้นำมีความเข้าใจในประสบการณ์และเข้าใจคุณค่าของความเป็นผู้นำในตัวเอง  ตระหนักถึงวิธีการขจัดความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน  ส่งเสริมพฤติกรรมและพัฒนาความสามารถพิเศษของความเป็นผู้นำ  มุ่งบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ความท้าทายต่างๆ  โดยให้ทุกคนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการวางแผนไปสู่เป้าหมายของการปฏิบัติงานร่วมกัน หากกล่าวถึงทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นในศตวรรษที่  21  (Essential  Leadership  Skills  in  the  21st  Century)  ซึ่งเป็นทักษะภาวะผู้นำที่จะต้องเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในตัวของผู้นำในระดับต่างๆ  ได้แก่  ทักษะการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผล  (Effective  Team  Building  Skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skills)  ทักษะการวางแผน  (Planning  Project  Skills)  ทักษะการกำกับการปฏิบัติงาน  (Performance  Monitoring  Skills)  ทักษะการสื่อสาร  (Communication  Skills)  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  (Relationship  Building  up  Skills)  ทักษะการเป็นพี่เลี้ยง  (Coaching  Skills)  ทักษะทางสังคม  (Social  Skill)  ทักษะการติดสินใจ  (Decision  Making  Skill)  ทักษะการกระตุ้นจูงใจ  (Motivational  Skills)  ทักษะการคิดและสะท้อนผล  (Reflective  &  Thinking  Skills)  ทักษะการจัดการตนเอง  (Self-Management  Skills)  ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยี  (Technological  Skills)  ทักษะด้านการเรียนการสอน  (Pedagogical  Skills)  ทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์  (Emotional  Intelligence  Skills)  ทักษะการเสริมพลังอำนาจ  (Empowerment  Skills)  ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์  (Visioning  Skills)  ทักษะการบริหารเวลา  (Time  Management  Skills)  ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง  (Conflict  Resolution)  และ  ทักษะการจัดการความเสี่ยง  (Risk  Management  Skills)  Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development  (OECD),  ได้กล่าวเกี่ยวกับทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  พบว่า  ผู้นำโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการปฏิบัติงาน  และมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน  ถ้าผู้นำโรงเรียนขาดทักษะภาวะผู้นำก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของโรงเรียนได้  ซึ่งทักษะภาวะผู้นำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับภาระงานและบุคคลลากร  ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการพัฒนาทักษะ  ความรู้  และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันในบริบทของโลกยุคใหม่  สอดคล้องกับ  งานวิจัยของ  Lee  (2008)  พบว่า  ทักษะภาวะผู้นำโรงเรียนที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จ  ได้แก่  ทักษะการสร้างทีมงาน  (Team  Building  Skill)  ทักษะด้านความร่วมมือ  (Collaboration  Skill)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (Critical  Thinking  And  Creativity  Skill)  ทักษะด้านการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skill)  ทักษะด้านการสื่อสาร  (Communication  Skill)  และทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้  (Learning  Innovation  Skill)    และงานวิจัยของ  National  Association  of  Secondary  School  Principals  (NASSP(2013)  พบว่า  ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่  21  ที่สำคัญและส่งผลดีต่อการบริหารโรงเรียนให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ได้แก่  ทักษะการทำงานเป็นทีม  (Teamwork  Skill)  ทักษะการแก้ปัญหา  (Problem  Solving  Skills)  ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  (Critical  Thinking  and  Creativity  Skill)  ทักษะด้านการสื่อสาร  (Communication  Skill)  ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้  (Learning  Innovation  Skill)  ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล  (Digital  Literacy  Skills)  ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร  (Setting  Instructional  Direction  Skill)  ทักษะการเรียนรู้ได้เร็ว  (Sensitivity  Skill)  ทักษะการพิจารณาตัดสิน  (Adjustment  Skill)  และ  ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ์  (Results  Orientation  Skill)  จากการศึกษาขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา  (Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development  :  OECD)  เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาการศึกษาของประเทศต่างๆ  ที่มีผลการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพในอันดับต้นๆ  ของโลก  ได้แก่  เซี่ยงไฮ้  สิงคโปร์  ฮ่องกง  เกาหลีใต้  และญี่ปุ่น  พบว่า  กลุ่มประเทศที่จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องในอันดับต้นๆของโลกเหล่านี้  ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีทักษะภาวะผู้นำที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง  เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานในสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะที่สำคัญ  คือ  ทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน  (Team  Building  Leadership  Skill)  และทักษะการจัดการความขัดแย้ง  (Conflict  Management  Skill)  (Organization  for  Economic  Cooperation  and  Development,  2012) 
                  การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน  ผู้เขียนได้ศึกษา  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะภาวะผู้นำด้านการสร้างทีมงาน ซึ่งสรุป  ดังนี้ 
               
                   1. องค์ประกอบหลักด้านการก่อตั้งทีม  (Forming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      1.1  การกำหนดเป้าหมาย 
                      1.2  การกำหนดวัตถุประสงค์ 
                      1.3 การคัดเลือกสมาชิก 
                      1.4  การกำหนดบทบาทหน้าที่ 
                  2.  องค์ประกอบหลักด้านการรวมทีม  (Storming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      2.1  การพัฒนาทีม 
                      2.2  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 
                      2.3  การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                      2.4  การขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ 
                  3.  องค์ประกอบหลักด้านการสร้างบรรทัดฐานของทีม  (Norming)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      3.1  การมีภาวะผู้นำร่วม 
                      3.2  การมีวิสัยทัศน์ร่วม 
                      3.3  การมีความไว้วางใจ
                      3.4  การมีความเหนียวแน่นในทีม 
                   4.  องค์ประกอบหลักด้านการปฏิบัติงานของทีม  (Performing)  มี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      4.1  การกำหนดแผนปฏิบัติงานของทีม 
                      4.2  การมีแรงจูงใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ 
                      4.3  การคิดสร้างสรรค์ 
                      4.4  การมีส่วนร่วม 
                      4.5  การสร้างบรรยากาศที่ดี 
                      4.6  การตัดสินใจของทีม
                      4.7  การแก้ปัญหาของทีม 
                  5.  องค์ประกอบหลักด้านการสะท้อนผลงานและการขับเคลื่อนทีม  (Feedback  and  Dynamicมี  ตัวบ่งชี้  คือ 
                      5.1  กระบวนการทำงานของทีม
                      5.2  การเรียนรู้ของทีม  


Reference

Biech,  Elaine.  (2008)The  Pfeiffer  Book  of  Successful  Team-Building  Tools  :  Best  of  the  Annuals.  Second  Edition.  United  States  of  America:  Pfeiffer.
Cook,  Sarah.  (2009)Building  a  High-  Performance  Team  Proven  Techniques  for
           Effective  Team  Working.  IT  Governance  Publishing:  United  Kingdom.
Diamond,  L.  E.  and  Diamond,  Harriet.  (2007).  Teambuilding  That  Gets  Results  : 
           Essential  Plans  and  Activities  for  Creating  Effective  Teams.  Illinois:  Naperville.
Dyer,  W.  G.,  Gibb,  W.  and  Jeffrey  H.  (2007).  Team  Building  :  Proven  Strategies 
           for  Improving  Team  Performance.  Fourth  Edition.  San  Francisco:  John        Wiley. 
 Tyrer,  Graham.  (2010) .  Learning  to  lead  :  Using  Leadership  Skills  to  Motivate 
           Students.  New  York:  Continuum  International  Publishing  Group.
>San  Francisco:  John        Wiley. 
Weigel,  R.  A.  (2012)School  Leadership  Skill  Development.  Dissertation 
           Ph.D.  Thesis  in  Educational  Leadership.  Eastern  Michigan  University,            Michigan.
Wellington,  P.  and  Niall  Foster.  (2009).  Effective  Team  Leadership  for  Engineers. 
           The  Institution  of  Engineering  and  Technology:  United  Kingdom.
West,  M.  A.  and  Markiewicz,  L.  (2004).  Building  Team-Based  Working:  a  Practical
           Guide  to  Organizational  Transformation.  United  Kingdom:  Blackwell            Publishing.
Woodcock,  M.  and  Dave  Francis.  (2008).  Team  Metrics  Resources  for  Measuring    and  Improving  Team  Performance.  Massachusetts  :  HRD  Press,  Inc. 
Yost,  P.R.  and  Plunket,  Mary  Mannion.  (2009)Real  Time  Leadership
           Development.  Singapore:  Wiley-Blackwell.
Yukl,  G.  (2010).  Leadership  in  Organization.  New  York:  Person  Prentice  Hall.